ยินดีค่ะ

welcome to my blogger ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกของเรา







วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16


วันที่  19  กุมภาพันธ์  2556

สรุปเนื้อหา

  • พูดถึงการไปดูงานที่หนองคาย และประเทศลาว  มีการลงชื่อเด็กที่จะไปดูงาน
  • นัดเรื่องสอบปลายภาค  ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556
  • ให้เขียนว่าหลังจากที่เรียนมา ได้ความรู้อะไรบ้าง  ทักษะอะไรบ้าง  และวิธีการสอน





วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้คร้งที่ 15


วันที่  12  กุมภาพันธ์  2556

สรุปเนื้อหา

  • ดูการสอนเรื่องอวัยวะภายนอกร่างกาย  ข้อควรแก้ไข
*วันที่1  รู้จักอวัยวะภายนอก
  1. การนับไม่ควรนับย้อนไปย้อนมา  ควรไล่ลงมาเป็นลำดับเพื่อเด็กจะไม่สับสน
  2. เมื่ออวัยวะใดที่นับไปแล้ว ควรจะทำเครื่องหมายเอาไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์  และเป็นการรอบครอบของครูผู้สอน
  3. เด็กไม่สามารถอ่านออกได้ ดังนั้นควรมีภาพมาติด และเขียนลงไป เพื่อให้เด็กเห็นว่ามันเขียนอย่างไร และเด็กสามารถรู้ว่าอัวยวะนั้นเรียกว่าอะไร โดยการดูจากรูปภาพ
*วันที่2  ลักษณะ
  1. เมื่อเป็นลักษณะควรใช้ตารางสัมพันธ์  เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ  และมีการสรุปอีกที เพื่อเป็นการทวนความรู้ให้กับเด็ก
*วันที่ 3  หน้าที่
  1. เนื่องจากว่ามันเป็นข้อความรู้  ดังนั้นควรเล่านิทานเพื่อเข้าสู่บทเรียน 
  2. ในเมื่อมีภาพเราก็ใช้ภาพนั้นมาติด  แล้วลองถามว่าอวัยวะนี้ทำอะไรได้บ้าง
  3. เราทำเป็นMapping  เปลี่ยนจากเขียนเป็นวาดภาพลงไป  เด็กจะได้เข้าใจ
  4. จากนั้นก็ทำการสรุปโดยใช้Mapping เริ่มจากหน้าที่ และค่อยขยาย เป็นชื่ออวัยวะต่างๆที่เรามี  จากนั้นจึงค่อยขยายหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆตามที่เขียนมา
*วันที่ 4  ประโยชน์
  1. เปป็นการเล่านิทานโดยให้เด็กได้มีส่วนร่วม โดยการทำตามคำบรรยาย
*วันที่ 5 วิธีการดูแลรักษา
  1. การสอนการดูแลรักษาอวัยวะอย่างแรก ควรบอกให้เด็กไปหาผู้ปกครองก่อน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วันที่  5  กุมภาพันธ์  2556

สรุปเนื้อหา
  • ดูการสอนเรื่องกระดุม  ควรแก้ไข
  * วันที่1 ประเภทของกระดุม
  1. เราไม่ควรบอกเด็กก่อนว่าวันนี้เราจะสอนอะไร
  2. เราสามารถนำเข้าสู่บทเรียน  โดยใช้รูปภาพเป็นจิ๊กซอ  และแจกให้เด็กแต่ละคน  จากนั้นให้เด็กนำรูปภาพมาต่อจนสมบูรณ์ และถามว่าเห็นอะไรบนกระดาน
  3. แล้วถามความรู้เดิมของเด็กว่าเคยเห็นกระดุมแบบไหนบ้าง  หรืออะไรบ้าง  และทำการเขียน Mapping  บนกระดานให้เด็กเห็น
  4. ในการนับเราควรเรียงให้เด็กเห็น  ไม่ควรนับแล้วใส่เข้าไปในขวดอีกทำให้เด็กไม่เห็น  และควนเรียงอย่างละสิบ  เพื่อให้นับได้ง่าย
*วันที่2  ชนิดของกระดุม
  1. สอนเรื่องชนิดหมายถึงเราต้องวิเคราะห์ความแตกต่าง ของกระดุมสองชนิด  ดังนั้นควรทำตารางสัมพันธ์ เพื่อเป็นการแบ่งความต่าง และความเหมือนของกระดุมสองชนิด
  2. เมื่อทำตารางสัมพันธ์ให้เด็กเห็นแล้ส  สิ่งที่ควรทำอีกอย่างหนึ่ง คือ การสรุป  โดยจะสรุป วงกลมสองทับกันครึ่งหนึ่ง ส่วนที่ทับกันนนั้นคือส่วนที่เหมือนกัน  และส่วนที่ไม่ทับกันนั้นคือส่วนที่ต่างกัน
*วันที่3  ประโยชน์ของกระดุม
  1. เนื่องจากว่าเรื่องของประโยชน์มันเป็นข้อมูลความรู้ ดังนั้นควรทำเป็นนิทาน ให้เด็กฟัง
*วันที่4  การเก็บรักษากระดุม
  1. ควรมีอุปกรณ์ที่เก็บกระดุมหลากหลายชนิด ไม่จำเป็นต้องเป็นกล่องอย่างเดียว
  2. การเก็บรักษากระดุมมันน้อยเกินไป  ควรเพิ่มอาจจะเป็นเรื่องอาชีพ เช่นกระดุมทำให้เกิดอาชีพอะไรได้บ้าง

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันที่  29  มกราคม  2556

สรุปเนื้อหา

  • เป็นการประชุมรวมกัน 2ห้อง  พูดถึงเรื่องการแสดงความสามารถพิเศษ สรุปได้ดังนี้
  1. การแสดง(รำ)        แพท
  2. ร้องเพลง               จูน
  3. โฆษณา                โบว์,เปิ้ล
  4. พิธีกร                     ซาร่า,ลูกหยี
  5. ลิปซิ้ง                    ตังเม
  6. เต้น                        พลลอย, ทราย, เฟิร์ส
  7. ละครใบ้                  ลูหมี,ชมพู่
  8. ตลก                       ชวนชม,แตง,มิ้ง
  9. ผู้กำกับหน้าม้า        มี่,พูม
เราสามารถจัดเป็นประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ได้ต่อไปนี้
  1. เรื่องของจำนวน (การนับจำนวนของการแสดงในแต่ละชุด  และจำนวนผู้ที่แสดงในแต่ละชุด)
  2. เรื่องของช่วงเวลา   (ช่วงเวลาที่ทำการแสดงในแต่ละชุด  ว่าเริ่มกี่โมง และสิ้นสุดกี่โมง  15:00-15:30 น.)
  3. เรื่องเรขาคณิต  (ตำแหน่งทิศทางในการขึ้นลงเวที, การออกแบบเวที)
  4. ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (การประเมินหลังกิจกรรม)
* ทุกอย่างสามารถสอนให้เป็นคณิตศาสตร์สำหัรบเด็กได้  แต่ควรจะแปลให้เป็นรูปภาพ เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจได้ดีและเร็วขึ้น  เมื่อเด็กมีความชำนาญเมื่อไหร่ ถึงเริ่มใช้สัญลักษณ์กับเด็ก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วันที่    22  มกราคม  2556


สรุปเนื้อหาที่ได้

  • ดูการสอนของกลุ่มที่1 คือกลุ่มขนมไทย
  •     ข้อควรแก้ไข
    1. ในวันแรกไม่ต้องใส่เนื้อเข้าไปเยอะเเค่ให้รู้เป็นฐานเบื้องต้น 
    2. การอสนอย่าเพิ่งบอกเด็กว่าเราจะทำอะไร  เพราะเราต้องการให้เด็กคิดและมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
    3. ควรมีลูกเล่นในการสอน เพื่อไม่น่าเบื่อ
    4. พอถึงวันที่3 ไม่จำเป็นที่จะต้องมาสอนเรื่องนับเท่าไหร่ เพราะเด็กได้เรียนไปแล้ว  ให้เริ่มเรื่องอื่นได้เลย เช่น การเรียงลำดับ  การเปรียบเทียบ

    • กลุ่มที่ 2 เรื่องข้าว
      ข้อควรแก้ไข

    1. ในวันแรก เราต้องให้เด็กรู้จักชื่อเสียก่อน  และต้องเรียกให้ถูกต้อง  ดังนั้นควรสอนเรื่องของประเภท
    2. เรื่องลักษณะของข้าว  ควรนำข้าวสารแต่ละชนิดมาใส่ในภาชนะและส่งให้เด็กดู  เพื่อที่จะได้สังเกตุกันจริงๆ ว่าข้าวสารมีความต่างกันอย่างไร ในแต่ละชนิด
    3. การเก็บรักษาในเรื่องของข้าว  ควรใช้คำถามที่ว่า เด็กๆเคบเห็นคุณพ่อ-แม่  เก็บข้าวไว้ที่ไหนบ้าง  เป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กที่มีอยู่  แล้วจึงเข้าเรื่องรูปทรง  ว่ามีรูปทรงอย่างไร
    •  กลุ่มที่ 3 เรื่องกล้วย
    ข้อควรแก้ไข

    1. ในหัวข้อ เรื่องข้อควรระวัง  เป็นเนื้อหาความรู้   ควรเเต่งเป็นนิทาน  จากนั้นใช้การกำหนดทิศทาง หรือการเลียงลำดับ  หรือการทำแผนที่  ให้อยู่ในหัวเรื่อง ข้อควรระวังก็ได้

    งานมอบหมาย
    • ให้สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มา1เรื่่อง

    ชื่องานวิจัย : ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช

    ผู้ทำวิจัย  : อรกานต์  เพรชคุ้ม

    จุดมุ่งหมาย  :1 เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช
                           2  เพื่อศึกษาระดับพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
    ประชากรที่ใช้วิจัย :  เด็กปฐมวัย อายุ 3-4ปี อนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร   จังหวัดนครปฐม    จำนวน 2 ห้อง รวม 46 คน

    กลุ่มตัวอย่าง : เด็กปฐมวัย อายุ 3-4ปี อนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร  จำนวน 23คน   สุ่มแบบเจาะจง

    ตัวแปรที่ใช้ : ตัวแปรอิสระ  - การจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช
                           ตัวแปรตาม   - ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

    สรุปวิจัย  :  1  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช  ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านพัฒนาอยู่ในระดับดี
                       2  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช  ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน  สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

    ข้อเสนอเเนะ  : 1  ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมเพาะปลูกแบบกลุ่ม  และรายบุคคลว่ามีความต่างกันอย่างไร
                            2  ควรตั้งเกณฑ์ที่สูงกว่าพัฒนาการของเด็ก  เนื่องจากเด็กบางคนมีพัฒนาการสูงกว่าวัย









วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วันที่่  15 มกราคม  2556

สรุปเนื้อหาที่เรียน

  • อาจารย์สาธิตการสอน
งานที่มอบหมาย
  • เตรียมสอนตามหน่วยที่ได้รับในอาทิตย์หน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่  8  มกราคม   2556


สรุปหลังการเรียน

    สาระมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย (สสวท.)

  • สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ ( เข้าใจถึงการเเสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน)
  • สาระที่ 2 : การวัด (พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด  น้ำหนัก  ปริมาณ  เวลา)
  • สาระที่ 3 : เรขาคณฺิต  (ใช้คำในการบอกทิศทาง  ต่ำแหน่ง  ระยะทาง)
  • สาระที่ 4 : พืชคณิต (เข้าใจรูปแบและความสัมพันธ์)
  • สาระที่ 5 : การวิเคาะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม  นำเสนอ)
  • สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่่อสารทางคณิตศาสตร์และนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ  ทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ  และความคิดสร้างสรรค์)


ดอกไม้จากแกนกระดาษ
                                       
งานที่รับมอบหมาย

  • สอบสอนคณิตศาสตร์ตามกลุ่มที่ตั้งไว้