ยินดีค่ะ

welcome to my blogger ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกของเรา







วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วันที่    22  มกราคม  2556


สรุปเนื้อหาที่ได้

  • ดูการสอนของกลุ่มที่1 คือกลุ่มขนมไทย
  •     ข้อควรแก้ไข
    1. ในวันแรกไม่ต้องใส่เนื้อเข้าไปเยอะเเค่ให้รู้เป็นฐานเบื้องต้น 
    2. การอสนอย่าเพิ่งบอกเด็กว่าเราจะทำอะไร  เพราะเราต้องการให้เด็กคิดและมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
    3. ควรมีลูกเล่นในการสอน เพื่อไม่น่าเบื่อ
    4. พอถึงวันที่3 ไม่จำเป็นที่จะต้องมาสอนเรื่องนับเท่าไหร่ เพราะเด็กได้เรียนไปแล้ว  ให้เริ่มเรื่องอื่นได้เลย เช่น การเรียงลำดับ  การเปรียบเทียบ

    • กลุ่มที่ 2 เรื่องข้าว
      ข้อควรแก้ไข

    1. ในวันแรก เราต้องให้เด็กรู้จักชื่อเสียก่อน  และต้องเรียกให้ถูกต้อง  ดังนั้นควรสอนเรื่องของประเภท
    2. เรื่องลักษณะของข้าว  ควรนำข้าวสารแต่ละชนิดมาใส่ในภาชนะและส่งให้เด็กดู  เพื่อที่จะได้สังเกตุกันจริงๆ ว่าข้าวสารมีความต่างกันอย่างไร ในแต่ละชนิด
    3. การเก็บรักษาในเรื่องของข้าว  ควรใช้คำถามที่ว่า เด็กๆเคบเห็นคุณพ่อ-แม่  เก็บข้าวไว้ที่ไหนบ้าง  เป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กที่มีอยู่  แล้วจึงเข้าเรื่องรูปทรง  ว่ามีรูปทรงอย่างไร
    •  กลุ่มที่ 3 เรื่องกล้วย
    ข้อควรแก้ไข

    1. ในหัวข้อ เรื่องข้อควรระวัง  เป็นเนื้อหาความรู้   ควรเเต่งเป็นนิทาน  จากนั้นใช้การกำหนดทิศทาง หรือการเลียงลำดับ  หรือการทำแผนที่  ให้อยู่ในหัวเรื่อง ข้อควรระวังก็ได้

    งานมอบหมาย
    • ให้สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มา1เรื่่อง

    ชื่องานวิจัย : ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช

    ผู้ทำวิจัย  : อรกานต์  เพรชคุ้ม

    จุดมุ่งหมาย  :1 เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช
                           2  เพื่อศึกษาระดับพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
    ประชากรที่ใช้วิจัย :  เด็กปฐมวัย อายุ 3-4ปี อนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร   จังหวัดนครปฐม    จำนวน 2 ห้อง รวม 46 คน

    กลุ่มตัวอย่าง : เด็กปฐมวัย อายุ 3-4ปี อนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร  จำนวน 23คน   สุ่มแบบเจาะจง

    ตัวแปรที่ใช้ : ตัวแปรอิสระ  - การจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช
                           ตัวแปรตาม   - ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

    สรุปวิจัย  :  1  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช  ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านพัฒนาอยู่ในระดับดี
                       2  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเพาะปลูกพืช  ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน  สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

    ข้อเสนอเเนะ  : 1  ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมเพาะปลูกแบบกลุ่ม  และรายบุคคลว่ามีความต่างกันอย่างไร
                            2  ควรตั้งเกณฑ์ที่สูงกว่าพัฒนาการของเด็ก  เนื่องจากเด็กบางคนมีพัฒนาการสูงกว่าวัย









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น